เมนู

อุปาลิปัญจก วัณณนา


[ว่าด้วยองค์ 5 แห่งภิกษุผู้ถือนิสัย]


วินิจฉัยในอุบายลิปัญหา พึงทราบดังนี้:-
คำถามที่ว่า กตีหิ นุ โข ภนฺเต มีสัมพันธ์ ดังนี้:-
ได้ยินว่า พระเถระอยู่ในที่ลับ มานึกถึงหมวด 5 เหล่านี้ ทั้งหมด จึง
เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคิดว่า บัดนี้เราจักทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า
ให้พระองค์ทรงวางแบบแผน เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุเหล่านี้ มีภิกษุผู้ถือนิสัย
อยู่เป็นต้น แล้วทูลถามปัญหา โดยนัยมีคำว่า กตีหิ นุ โข ภนฺเต
เป็นอาทิ.
วินิจฉัยในคำวิสัชนาปัญหาเหล่านั้น พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า อุโปสถํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักอุโบสถ 9 อย่าง.
สองบทว่า อุโปสถกมฺมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักอุโบสถ-
กรรม 4 อย่าง ต่างโดยกรรมเป็นวรรคโดยอธรรมเป็นต้น.
สองบทว่า ปาฏิโมกฺขํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักมาติกา 2.
สองบทว่า ปาฏิโมกฺขุทฺเทสํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักปาฏิ-
โมกขุทเทส 9 อย่าง คือ ของภิกษุ 5 อย่าง ของภิกษุณี 4 อย่าง.
สองบทว่า ปวารณํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักปวารณา 9 อย่าง.
สองบทว่า ปวารณากมฺมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักปวารณา-
กรรม 8 อย่าง ต่างโดยชนิดมีกรรมเป็นวรรคโดยอธรรมเป็นต้น.

สองบทว่า อาปตฺตานาปตฺตึ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้อาบัติ
และอนาบัติ ที่ทรงแสดงในสิกขาบทนั้น ๆ.
สองบทว่า อาปนฺโน กมฺมกโต มีความว่า ภิกษุต้องอาบัติแล้ว,
กรรมย่อมเป็นกิจอันสงฆ์ทำแล้ว เพราะการต้องนั้นเป็นปัจจัย.

[ว่าด้วยกรรมของภิกษุไม่ควรระงับ]


สองบทว่า กมฺมํ น ปฏิปฺปสฺสมฺเภตพฺพํ มีความว่า กรรม
ของภิกษุนั้น อันสงฆ์ไม่พึงให้ระงับ เพราะเหตุที่เธอประพฤติ โดยคล้อยตาม
พรรคพวก. อธิบายว่า เหมือนบุคคลที่ถูกล่ามไว้ด้วยเชือก อันตนจะพึงแก้
เสียฉะนั้น.

[ว่าด้วยองค์ 5 ของภิกษุผู้เข้าสงคราม]


หลายบทว่า สเจ อุปาลิ สงฺโฆ สมคฺคกรณียานิ กมฺมานิ
กโรติ
มีความว่า ถ้าว่าสงฆ์กระทำกรรมมีอุโบสถเป็นต้น อันภิกษุทั้งหลาย
ผู้พร้อมเพรียงกันพึงกระทำ, อันความอุดหนุน (แก่การทะเลาะ) อันภิกษุ
ไร ๆ ไม่พึงให้ ในเมื่อกรรมสามัคคีมีอุโบสถและปวารณาเป็นต้น ต้องงดไว้.
ก็ถ้าว่า สงฆ์ให้แสดงโทษล่วงเกินแล้วกระทำสังฆสามัคคีก็ดี กระทำการระงับ
อธิกรณ์ด้วยตินวัตถารกวินัย แล้วกระทำอุโบสถและปวารณาก็ดี, กรรมเห็น
ปานนี้ จัดเป็นกรรมที่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงพึงกระทำ.
บทว่า ตตฺเร เจ มีความว่า ถ้าว่าในกรรมเช่นนั้น ไม่ชอบใจแก่
ภิกษุไซร้, พึงกระทำความเห็นแย้งก็ได้ ควบคุมความพร้อมเพรียงเห็นปานนั้น